รอยสักของเหล่านักรักบี้กับเกมชิงแชมป์โลกที่ญี่ปุ่น

บนโลกใบนี้ วัฒนธรรมการสักบนร่างกายไม่มีภูมิภาคไหนโดดเด่นเท่ากับชาวเกาะทะเลใต้ ลูกหลานของชาวโพลีนีเซียนอีกแล้ว เพราะแทบทุกเผ่าที่สืบทอดเชื้อสายนักเดินทะเลต่างได้รับเอาวัฒนธรรมและประเพณีการสักมาเป็นของตัวเอง และกลายเป็นเอกลักษณ์ที่สะดุดตาผู้คนอย่างยิ่ง ดังนั้นมันถึงตกทอดมาถึงบันดาลูกหลานของพวกเขา

ในโลกของกีฬานั้น ชาวเกาะทะเลใต้ทั้งหลายดูจะเก่งกาจในเชิงกีฬารักบี้มากในระดับต้นของโลก ทีมอย่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ตองกา ฟิจิ โซโลมอน รวมถึงเกาะเล็กเกาะน้อยทั้งอาณาบริเวณเขตนั้นต่างมีชื่อเสียงในกีฬาชนิดนี้ และมันก็ไม่แปลกที่นักกีฬาของพวกเขาจะมีรอยสักอันเป็นเครื่องแสดงออกถึงความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ ซึ่งเหมาะสมกับการเล่นกีฬาที่ต้องปะทะกันอย่างรุนแรงนี้ด้วย

ด้วยรูปร่างแบบนักรักบี้ที่ตัวใหญ่ ทำให้การสักลวดลายบนร่างกายของพวกเขาสามารถสร้างภาพที่โดดเด่นได้สบาย ๆ ในส่วนของนักกีฬาที่สืบเชื้อสายชนเผ่าพวกเขาไม่ลืมที่จะสร้างลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์บ่งบอกที่มาของตนเองทั้งสไตล์เมารี, อะบอริจิน, ตองกา, ซามัว หรือ มาร์กี้ซัน ร่วมด้วยรูปภาพอันเป็นเอกลักษณ์แบบสากลต่าง ๆ ตลอดจนข้อความที่แฝงความหมาย

ความนิยมในการสักบนร่างกายของนักรักบี้ในฝั่งทวีปออสเตรเลียและหมู่เกาะโพลีนีเซียนต่างไปจากเหล่านักรักบี้ในยุโรปโดยเฉพาะกับนักรักบี้ของอังกฤษ ซึ่งผู้เล่นส่วนใหญ่ของทีมชาติอังกฤษมีรอยสักที่เป็นรูปและสีสันสวยงาม โดยเฉพาะการสักรูปดอกกุหลายซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ประจำทีมของพวกเขาไว้บนส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย พร้อมด้วยสีสันจากภาพที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาและความเชื่อด้วย

ในบรรดานักกีฬาจากชนิดกีฬาต่าง ๆ รักบี้ดูจะเป็นชนิดกีฬาที่ผู้เล่นมีรอยสักแทบจะทุกคน บางทีมอย่างเช่นนิวซีแลนด์นั้น ผู้เล่นทุกรายต่างมีรอยสักเป็นของตัวเอง ทำให้เกิดข้อกังวลเกี่ยวกับการแข่งขันรักบี้ เวิร์ลด์ คัพที่ญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพในปี 2019 นี้อย่างมาก เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าวัฒนธรรมและมุมมองของชาวญี่ปุ่นที่มีต่อการสักนั้นเป็นในแง่ลบที่สุด หลายสถานที่สาธารณะไม่ยินดีต้องรับคนที่มีรอยสักจนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งไม่อนุโลมให้แม้จะเป็นชาวต่างชาติก็ตาม สิ่งนี้เองที่ทำให้เกิดกระแสความคิดเห็นเห็นสองฝั่งว่ารักบี้ เวิร์ลด์ คัพจะมีการขอร้องให้ทุกคนปกปิดรอยสักดีหรือไม่?

ในขณะที่นักกีฬาจากประเทศต่าง ๆ ก็เหมือนยินดีที่จะให้ความร่วมมือเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่จากการที่วัฒนธรรมของญี่ปุ่นเองก็เปิดกว้างขึ้น รวมไปถึงการได้ย้อนกลับมาเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกในปี 2020 อีกครั้งของญี่ปุ่น ทำให้มีการเผยแพร่ความเข้าใจเกี่ยวกับรอยสักซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมโลกอย่างหนึ่งอย่างต่อเนื่อง การแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลกจึงอาจจะได้เป็นตัวแทนในการเปิดมุมมองใหม่ของชาวญี่ปุ่นก่อนหน้าการแข่งขันของมวลมนุษยชาติก็เป็นได้

รอยสักกับนักกีฬากลายเป็นของคู่กันจนเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ในขณะที่โลกก็แคบลงเนื่องจากการเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วถึงของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วัฒนธรรมและความเชื่อถูกนำมาบอกเล่าต่อกันเพื่อให้ต่างฝ่ายต่างเข้าใจกันมากขึ้น และวันหนึ่งรอยสักอาจจะมีภาพลักษ์ที่สวยงามในสายตาของทุกคนก็ได้ สำหรับชาวญี่ปุ่นมันอาจจะเพิ่มขึ้นจากการแข่งขันรักบี้รายการใหญ่ที่พวกเขาเป็นเจ้าภาพนี้

ลูอิส แฮมิลตัน ยอดนักแข่งรถผู้ลงรอยสักไว้ฉลองแชมป์

“บนแขนของผมจะมีเทวดารักษาคุ้มครอง มันจะบิดเล็กน้อย เมื่อผมเผลอหลับบนเบาะรถกลางแดดสิบโมงเช้าที่ร้อนจัด” ลูอิส แฮมิลตัน ยอดนักขับรถฟอร์มูล่าวันชาวอังกฤษเล่ากับสื่อ

ช่วงปลายปี 2018 ที่ผ่านมาหลังจากคว้าแชมป์โลกสมัยที่ 5 ให้ตัวเองได้ แฮมิลตันก็มีแผนการที่เพิ่มรอยสักบนร่างกายเพื่อแทนชัยชนะดังกล่าว โดยยังไม่รู้ว่าจะออกมาเป็นรูปแบบไหน แต่แฮมิลตันก็บอกว่ามันคงต้องมีเลข 5 มาปนอยู่ในนั้นแน่นอน

เจ้าของแชมป์โลกเอฟวันเป็นที่สนอกสนใจของแฟนนักแข่งรถเมื่อเขาคว้าแชมป์สมัยที่สองได้ในปี 2015 และถูกเชิญขึ้นปกนิตยสารโดยเนื้อหาในเล่มพูดถึงเรื่องราวของรอยสักบนตัว ที่เขากล่าวว่า “เขารักรอยสักของเขามาก”

ในวันนั้นแฮมิลตันยังไม่มีรูปสิงโตตัวใหญ่บนไหล่ขวา แต่ตลอดแขนซ้ายของเขามีรูป The Pieta หรือภาพพระแม่มารีกำลังอุ้มพระเยซูน้อยที่เอามาจากผลงานปั้นของไมเคิล แองเจลโล่ ยอดศิลปินชาวอิตาลีในอดีต ซึ่งรวมรูปภาพของนางฟ้า เทวดา กางเขนและหัวใจไว้ด้วยกัน แฮมิลตันกล่าวว่าเขาทั้งเชื่อมั่นและศรัทธาอย่างแรงกล้าในเรื่องพระเจ้า สมกับที่เขาสักคำว่า Faith ไว้บนไหล่ขวา เช่นเดียวกันกับการให้ความสำคัญกับครอบครัว ทำให้เขาสักคำว่า Family ไว้บนไหล่

กลางหน้าอกของลูอิส แฮมิลตันคือรูปดาวเข็มทิศ ซึ่งมีความหมายแฝงว่าศาสนาที่นับถือนี้เองที่เป็นเข็มทิศในการดำเนินชีวิตของเขา โดยบนเนินอกเกือบถึงคอแฮมิลตัวสลักคำว่า powerful beyond measure ที่เป็นคำของนักเขียนมาเรียเน่ วิลเลียมสัน มีความหมายว่า พลังนั้นอยู่เหนือการวัดได้

ลูอิส แฮมิลตันกลายเป็นนักแข่งเบอร์หนึ่งของโลกหลังจากเก็บชัยชนะได้อย่างต่อเนื่อง และข้อความทรงพลังที่ช่วยให้เขาพุ่งแซงหน้าทุกคนขึ้นไปปรากฏอยู่บนแผ่นหลังพร้อมรูปกางเขนใหญ่และปีกนางฟ้า คือข้อความที่กล่าวว่า ‘Rise above it, No matter what life throws at you’-ปีนขึ้นไปอยู่เหนือมันให้ได้ ไม่ว่าชีวิตจะปาอะไรใส่คุณก็ตาม ทำให้หลายต่อหลายครั้งที่แฮมิลตันดูไม่น่าจะคว้าแชมป์หรือเก็บชัยชนะในสนามแข่งขันได้กลับทำเรื่องที่น่าเหลือเชื่อสำหรับคอความเร็วได้เสมอ ซึ่งทั้งข้อความและรูปกางเขนนี้เขาสักลงบนหลังไว้ในปีที่ชนะเลิศครั้งที่ 3 ในปี 2015 ซึ่งเป็นการครองแชมป์สองปีติด

สถิติการเอาชนะได้ถึง 9 สนามในปี 2017 ทำให้ฮามิลตันได้ครองแชมป์โลกในปีนั้นหลังพลาดท่าได้แค่อันดับสองในปี 2016 ฮามิลตันเดินเข้าร้านสักอีกครั้งและคราวนี้เขาได้รูปหัวสิงโตตัวใหญ่บนไหล่ขวาที่เดิมว่างอยู่ มันเป็นสิงโตที่กำลังแสยะเขี้ยวอย่างน่าเกรงขาม

ในปี 2018 ที่ผ่านมาลูอิส ฮามิลตันยิ่งสุดยอดเข้าไปใหญ่ เมื่อเขาสามารถเก็บคะแนนสะสมได้ถึง 3,000 คะแนนจากการคว้าแชมป์ไปมากถึง 11 สนาม คว้าตำแหน่งออกตัวคันแรกไป 11 หนและขึ้นโพเดี่ยมไป 17 ครั้ง กลายเป็นแชมป์สมัยที่ 5 ของตัวเอง นั่นจึงทำให้ฮามิลตันเริ่มคิดที่จะหารอยสักสักอย่างเพื่อเอาไว้แทนความสำเร็จในครั้งนี้ และมันจะต้องมีความหมายที่ดีอย่างแน่นอนที่สุด

การสัก Passion แห่งสีสันบนเรือนร่าง ที่หลายคนโนแคร์แม้จะถูกมองในแง่ลบ

ในบริบทในสังคมไทยปัจจุบันมีค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมพอสมควรในหลาย ๆ เรื่อง ประเด็นหนึ่งที่หลายคนมองข้ามไปก็คือ เรื่องของการ “สัก” หากเราเดินไปตามแหล่งท่องเที่ยวแนวสตรีทในช่วงเย็นย่ำ หลายแห่งเลยทีเดียวที่เราจะเห็นร้านรับบริการสักลายบนเรือนร่างเปิดให้บริการกันอยู่เต็มไปหมด ภายในร้านก็มักจะมีช่างสักฝีมือดีอยู่ไม่เกิน 3 คน บางร้านก็มีแค่คนเดียวด้วย เรารับรู้กันดีว่าการสักนั้นเป็นรสนิยมส่วนบุคคล แต่โดยภาพรวมใหญ่ของสังคมไทยลึก ๆ แล้วก็ยังไม่ยอมรับหรือรู้สึกในแง่ลบต่อการสักลายบนเรือนร่างอยู่ดี หลายคนเคยบอกว่า เมื่อเห็นคนมีรอยสักมักจะทำให้รู้สึกถึงนักเลง ขี้คุก คนติดยา หรือสื่อไปให้เห็นถึงความรุนแรงและสกปรก แต่เรื่องนี้น่าแปลก ถ้ารอยสักแบบเดียวกันไปปรากฏอยู่บนร่างกายของคนดัง หรือ นักกีฬาดังมืออาชีพ ความรู้สึกของผู้คนกลับเปลี่ยนไป

เมื่อนักกีฬาดังสัก คนไม่ยักกะรังเกียจ

ย้อนกลับไปในกีฬาโอลิมปิก 2016 ที่ริโอเดจานาโร ประเทศบราซิล มีนักกีฬาหลายคนสร้างชื่อเสียงตนเองให้เป็นที่รู้จักกันจนถึงทุกวันนี้ด้วยการเผยรอยสักในร่างกายของตนเองไปพร้อม ๆ กับฝีมือในการแข่งขันกีฬา แน่นอนว่าทักษะและศักยภาพในด้านกีฬาเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เขาโดดเด่นขึ้นมา แต่ปัจจัยเสริมอย่างรอยสักที่ดูสะดุดตาและมีเสน่ห์ก็เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้แฟน ๆ กีฬาจดจำพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Daniel Jason Lewis นักมวยสากลสมัครเล่นชาว Australia ก็สร้างความรู้สึกสะดุดตาให้กับแฟน ๆ กับรอยสักเต็มร่างกาย ที่ดูจะเป็นที่พูดถึงมากที่สุดก็คือ รอยสักรูปจิงโจ้ที่มีการสวมนวมทำท่าทางชกมวยอยู่ หรืออย่าง Ignacio Perrin นักมวยสากลสมัครเล่นชาว Argentina ที่มาเต็มกับรอยสักที่แผ่นหลังรูปบุคคลสำคัญทั้งพระแม่มารี เชกูวาร่า ทำให้สะดุดตาแฟนมวยกันได้ดียามเขาถอดเสื้อ นักกีฬาเหล่านี้สร้างจุดเด่นของตนเองขึ้นมาจากรอยสักด้วยส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลกว่า คนกลับพูดถึงพวกเขาเหล่านี้ในแง่ที่ดี ไม่ได้รู้สึกรังเกียจหรือคิดถึงคนเหล่านี้ในแง่ลบเลย ทำไมเป็นเช่นนั้นล่ะ ก็เป็นเรื่องน่าแปลกใจเหมือนกัน

รอยสักจะลบหรือบวก อยู่ที่ใจคน

หากจะว่าไปแล้วรอยสักก็คงจะเหมือน ๆ เรื่องของการพนัน ที่มองได้ทั้งสองแง่ มีทั้งขาวและดำ อย่างในปัจจุบันเกิดเว็บไซต์พนันกีฬาในไทยเรามากมายหลายเว็บ รายหนึ่งในนั้นก็คือ เว็บไซต์ VWIN ที่ให้บริการรับเดิมพันทั้งกีฬาและเกมพนันสไตล์คาสิโน เว็บไซต์เหล่านี้ถ้าจะมองให้ดีแล้วก็แค่ธุรกิจอย่างหนึ่ง ที่เปิดเพื่อให้คนสนใจเรื่องพนันได้มาสนุกและมาบันเทิงกัน แต่ถ้ามองกันในแง่ลบมองเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องก็มองได้ รอยสักนั้นก็คงเป็นเรื่องลักษณะเดียวกัน ไม่ว่าจะอยู่บนร่างกายของใครส่วนไหน จะอยู่บนเรือนร่างของคนหนุ่มคนสาว คนผอมคนอ้วน คนธรรมดาทั่วไป หรืออยู่บนร่างกายของนักกีฬาคนดัง ถ้าใจคนมองคิดว่าเรื่องสักเป็นเรื่องแง่ลบรอยสักไปอยู่กับใครก็มองว่ามันไม่สวยอยู่ดี แต่ถ้าคนมองบวกมองยังไงก็รู้สึกว่ามันสวยงาม แน่นอนส่วนตัวนักกีฬาหรือคนที่มีรอยสักในตัวนั้น ทุกคนมองว่ารอยสักเป็นเรื่องของ Passion เป็นงานศิลป์อย่างหนึ่งที่น่าหลงใหล ใครจะมองอย่างไรมันไม่สำคัญ ขอเพียงสิ่งนั้น ๆ เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจทำให้พวกเขามีพลังที่จะก้าวต่อไปในชีวิตบนเส้นทางของตนเองก็เพียงพอแล้ว เรื่องแบบนี้อยู่ที่ใจคนมองมันห้ามกันไม่ได้หรอกเนอะ

รอยสักเป็นเรื่องของรสนิยมส่วนบุคคล บางคนมองว่ามันคือการแสดงออกในแง่ลบ ส่วนบางคนมองว่ามันคือความน่าหลงใหล แล้วคุณล่ะมองศิลปะบนเรือนร่างนี้ในแง่ไหน ถามใจดู

นางฟ้าชุดขาวแห่งวิมเบิลดัน กับวันที่รอยสักเป็นความคลั่งไคล้ส่วนตัว

ถ้าพูดถึงการแข่งขันเทนนิสที่เป็นเอกลักษณ์ที่สุดรายการหนึ่งของโลก ต้องยกให้รายการแข่งที่เป็นตำนานอย่างการแข่งขันวิมเบิลดันที่ประเทศอังกฤษ รายการบนสนามหญ้าที่มีธรรมเนียมปฏิบัติสมกับความเก่าแก่ที่สุดของมัน โดยเฉพาะการที่ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะลงสนามด้วยชุดแต่งการสีขาว

ก่อนหน้าปี 2012 นักเทนนิสที่ลงแข่งขันในวิมเบิลดันค่อนข้างถูกควบคุมในเรื่องของภาพลักษณ์มาก ภาพนักกีฬาที่ลงแข่งขันภายใต้ชุดแต่งกายสีขาวสะอาด วิ่งไล่หวดลูกเทนนิสอยู่บนสนามหญ้าสีเขียว เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความเป็นเทนนิสรายการนี้ รอยสักเป็นสิ่งที่ทางฝ่ายจัดการแข่งขันต้องการให้ผู้เข้าแข่งขันพยายามซ่อนไว้ในชุดแต่งกายที่รัดกุม แต่แล้วประโยคเด็ดที่เปลี่ยนแปลงแนวทางในการแต่งกายของนักเทนนิสที่ลงแข่งขันวิมเบิลดันไปตลอดกาลก็คือ การตัดสินของคณะกรรมการเทนนิสที่มองว่า ตราบใดที่ตัวรอยสักไม่ได้แสดงออกถึงการโฆษณาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใดใด ให้ถือว่ารอยสักนั้นไม่ละเมิดเงื่อนไขเกี่ยวกับกฎของการแข่งขัน

ช่วงหลายปีหลังจากนั้น นักเทนนิสชายได้ส่งต่อค่านิยมการมีรอยสักบนเรือนร่างไปสู่นักเทนนิสหญิงทีละนิด ๆ จนกระทั่งมีนักกีฬาเทนนิสหญิงบางรายที่ชื่นชอบรอยสักเป็นชีวิตจิตใจ และนำสิ่งนี้ลงสู่คอร์ทวิมเบิลดัน

ในปี 2017 เกมการแข่งขันวิมเบิลดันถูกกล่าวถึงด้วยเรื่องราวของรอยสักบนร่างกายของนักเทนนิสหญิงที่ลงแข่งขันในรอบแรก นำมาโดยเบ็ธธานี่ แมตเท็ค-แซนด์ นักเทนนิสสาวอเมริกันที่ลงเล่นในฐานะไวลด์ การ์ดในเซคชั่น 1 รอยสักรูปดอกไม้สีสดทั้งการ์ซีเนียและดอกบัวตลอดท้องแขนซ้ายทำให้เบ็ธธานี่กลายเป็นจุดสนใจ

หลังจากที่โปโลน่า เฮอร์ค็อก นักเทนนิสสาวสโลวีเนียลงเล่นในเซคชั่นที่ 2 บ้าง รอยสักเต็มความยาวแขนขวา มันโดดเด่นด้วยรูปกุหลาบและรูปหัวกะโหลกที่วาดด้วยหมึกสีดำ คลุมตั้งแต่หัวไหล่ลงมาจนถึงข้อมือ ความสนใจในการแข่งขันถูกแบ่งไปยังเรื่องราวของรอยสักนักกีฬาหญิง แม้กระทั่งลอร่า ร็อบสัน นักเทนนิสสาวความหวังของคนอังกฤษเจ้าถิ่น สื่อก็รายงานถึงรอยสักที่เห็นเพียงยอดมงกุฎเล็กน้อยบนสีข้างของเธอด้วย

โปโลน่า เฮอร์ค็อก เจ้าของรอยสักที่เป็นที่ถูกกล่าวถึงสามารถผ่านเข้ารอบ 3 มาได้แต่ก็ต้องมาพ่ายให้สเว็ตลาน่า คุซเน็ตโซว่า นักเทนนิสรัสเซีย สื่อก็ยังคงให้ความสนใจต่อในเรื่องรอยสัก โดยคราวนี้ไปชูประเด็นรอยสักหนึ่งในสี่จุดหลักของคุซเน็ตโซว่าที่เป็นข้อความว่า ‘pain doesn’t kill me, I kill the pain’ อันมีความหมายว่าความเจ็บปวดล้มฉันไม่ได้ ฉันสิที่คว่ำความเจ็บปวดเสียเอง แต่นักเทนนิสสาวจากรัสเซียก็มาจบแค่รอบก่อนรองชนะเลิศเมื่อพ่ายแพ้ให้การ์บีเน่ มูกูรูซ่า นักเทนนิสจากสเปนที่ทะยานไปถึงรอบชิงชนะเลิศที่ได้พบกับแชมป์เก่าอย่างวีนัส วิลเลี่ยม

                เกมนัดชิงชนะเลิศจบลงด้วยชัยชนะที่พลิกล็อกของมูกูรูซ่า ซึ่งเป็นมือวางอันดับ 14 ของรายการเหนือวีนัส วิลเลี่ยม มือวางอันดับ 10 ไป 2-0 เซต ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข่าวเล็ก ๆ เรื่องรอยสักรูปดอกกุหลาบบนไหล่ซ้ายของวิลเลี่ยมผู้แพ้

                วิมเบิลดัน 2017 กลายเป็นเรื่องราวของการแข่งขันและรอยสักที่โดดเด่นเกินความสนใจที่มีต่อชุดแฟชั่นสีขาว รอยสักได้กลายเป็นเรื่องราวที่ถูกพูดถึงตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้ายของการแข่งขัน และกลายเป็นเรื่องก้าวข้ามธรรมเนียมปฏิบัติของรายการเทนนิสสำคัญรายการนี้

รอยสักชาวเผ่าโอลิมปิก สิ่งที่จะเปลี่ยนมุมมองสังคมญี่ปุ่นไปตลอดกาล

โอลิมปิก กีฬาแห่งมวลมนุษยชาติจะวนลูปกลับมาอีกครั้งในปี 2020 โดยมีญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ สองครั้งล่าสุดมันเกิดปรากฏการณ์ความสนใจที่มีต่อรอยสักเพิ่มสูงขึ้นมากทั้งในริโอ 2016 และลอนดอน 2012 เมื่อบรรดานักกีฬาต่างพร้อมใจกันนำเสนอรอยสักทั้งเล็กและใหญ่ ไม่ใช่แค่เฉพาะลวดลายรูปวงแหวนโอลิมปิกห้าห่วงเท่านั้น แต่มันครอบคลุมไปถึงรอยสักขนาดใหญ่ที่เป็นจุดสนใจของผู้คนราวกับเป็นแฟชั่นอีกอย่างหนึ่งขอโอลิมปิกไปเลย

นักกีฬาจำนวนมากที่ปฏิเสธการมีรอยสัก แต่หากจะเลือกสักรอยเพื่อใช้เป็นที่ระลึกแล้ว ไม่มีสัญลักษณ์ใดน่าภูมิใจเท่าการจารึกว่าครั้งหนึ่งพวกเขาเคยเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกมาแล้ว

แต่ที่ประเทศญี่ปุ่น เจ้าภาพของโอลิมปิกครั้งต่อไป วัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยมของพวกเขาที่มีต่อรอยสักถูกส่งต่อภาพลักษณ์ด้านลบมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการที่ถูกสังคมมองว่ารอยสักเป็นเรื่องราวของกลุ่มคนไม่ดีอย่างยากูซ่า หรือไม่ก็นักเลงอย่างพวกชาวแก๊งค์ต่าง ๆ มุมมองเชิงลบที่มีต่อคนที่มีรอยสักทำให้เกิดจารีตต้องห้าม เช่น การห้ามคนมีรอยสักใช้สระว่ายน้ำสาธารณะ การห้ามใช้ห้องแช่บ่อน้ำร้อนร่วมกับคนทั่วไป ซึ่งกรณีนี้มันเลยเถิดไปถึงชาวต่างชาติอย่าง อีเรน่า เท บรีเวอตัน นักเรียนทุนจากนิวซีแลนด์ที่ถูกห้ามลงบ่อน้ำร้อนในฮอกไกโด เนื่องจากรอยสักแบบเมารีบนใบหน้าของเธอ

โยชิฮิโตะ นากาโน่ หรือที่รู้จักกันในฉายา “โฮริโยชิ ที่ 3” ยอดนักสักคนดังชาวญี่ปุ่นวัย 72 ปี เขาคือนักสักเต็มตัวตามวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่เรียกว่า Irezumi หรือ Horimomo มาอย่างยาวนาน เขาไม่ได้เกี่ยวพันกับยากูซ่า แต่หลงใหลในสีสันและลวดลายที่ได้เห็นจากรอยสักของคนเหล่านั้นตั้งแต่อายุแค่สิบกว่าขวบ ถึงขนาดว่าต้องดั้นด้นไปขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของช่างสักระดับตำนานที่ชื่อ โยชิซึกุ มูรามัตซึ ชายที่ถูกเรียกว่าเป็น Shodai Horiyoshi of Yokohama หรือผู้ก่อตั้งสมาคมสักแห่งโยโกฮาม่า ที่นั้นนากาโน่ได้เรียนจากชายผู้เป็นโฮริโยชิ รุ่นที่ 2 ทำให้เขาได้สืบทอดตำแหน่งรุ่นที่ 3 ในเวลาต่อมา เมื่อฝีมือเป็นที่ประจักษ์ นากาโน่ หรือโฮชิโยริ รุ่น 3 ก็ได้ทำงานสายนี้ เขาสร้างรอยสักทั้งคนในโลกด้านมืดและคนในโลกปกติ

นากาโน่มองเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงใหญ่หลวงที่จะเกิดขึ้นเมื่อโอลิมปิกที่โตเกียวเริ่มต้นขึ้น โดยเฉพาะในวันที่ความพยายามเรียกร้องให้การสักรอยเป็นสิ่งผิดกฎหมายในญี่ปุ่น หากไม่สามารถแสดงใบอนุญาตทางการแพทย์เพื่อสร้างผลงานเหล่านั้น ในขณะที่นักสักต่างมองว่ามันเป็นวัฒนธรรมที่แตกต่างไป มันไม่ได้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวงการแพทย์เสียหน่อย

“จะมีนักกีฬาและนักท่องเที่ยวมากมายมาที่ญี่ปุ่นในช่วงเวลาดังกล่าว พวกเขามีรอยสักที่มันมาจากต่างวัฒนธรรม มันจะเป็นอย่างไรถ้าคนเหล่านั้นไม่ได้นับอนุญาตลงฝึกซ้อมหรือทำกิจกรรมเพราะติดข้อห้ามเรื่องรอยสัก? สังคมจะมองเรื่องนี้แบบไหน?” เป็นคำถามที่นากาโน่ถามเผื่อไปถึงทัศนคติเรื่องการสักของสังคมชาวญี่ปุ่น

บรรดานักกีฬาและนักชมกีฬาที่จะเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกในปี 2020 บางคนจะไปเปิดเผยรอยสักในฐานะสมาชิกผู้มีส่วนร่วมในการแข่งขันครั้งแรก บางคนเป็นครั้งที่สอง และบางคนมากครั้งกว่านั้น พวกเขามาด้วยความภาคภูมิใจที่จะมีสัญลักษณ์ห่วงทั้งห้าบนส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ในวันที่การสักเป็นแฟชั่นอย่างหนึ่ง บางคนจะได้นำเสนอรอยสักที่เป็นทั้งความทรงจำ ความศรัทธาและความเชื่ออันงดงามของพวกเขา

โอลิมปิก 2020 บนแผ่นดินญี่ปุ่นที่มีจารีตและความเชื่อด้านลบเกี่ยวกับคนที่มีรอยสักจะได้เผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนไปตลอดกาล